messager
 
เทศบาลตำบลนาป่าแซง account_box ทำเนียบนายกเทศมนตรี account_box ทำเนียบปลัดเทศบาล account_box อาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือน info_outline ข้อมูลการติดต่อ
สวัสดีปีใหม่ 2567
์No Gift Policy
์No Gift Policy
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลตำบลนาป่าแซง อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ
cast ประกาศรายชื่อผู้ชนะการเสนอราคา-ประกาศผู้ได้รับการคัดเลือก
rss_feed

อีเมลล์ : 
เบอร์โทร :

การดำเนินการด้านการบริหารงานบุคคล

- การวางแผนกำลังคน พิจารณาจัดระเบียบงานและโครงสร้าง การแบ่งส่วนราชการของ อบต. การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การควบคุณมการใช้อัตรากำลังของพนักงานส่วนตำบล

- การสรรหา บรรจุและแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การประเมินบุคคลและผลงาน การโอน ย้าย การออกจากราชการ และการประเมินผลการปฏิบัติงาน 

- การดำเนินการด้านทะเบียนประวัติและบำเหน็จบำนาญ การลาประเภทต่าง ๆ การขอพระราชทานเครื่องราชฯ การออกหนังสือสำคัญ และหนังสือรับรองเพื่อสิทธิต่างๆ การขอบำเหน็จบำนาญ เงินทำขวัญ เงินช่วยเหลือ 

- การจัดทำแผนกลยุทธของ อบต. และแผนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ การตรวจสอบสืบสวนหาข้อเท็จจริง ร้องเรียน แจ้งเบาะแส ดำเนินการทางวินัยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับอุทธรณ์ การวางแผนเสริมสร้างและปรับปรุงระบบงานวินัย การรักาาวินัยและจรรยาของพนักงานส่วนตำบลให้สดอคล้องกับประกาศคุณะรรม จริยธรรม และจรรยาวิชาชนองค์กร 

- การดำเนินการด้านการฝึกอบรม


เผยแพร่วันที่ : easyweb | โดย : ระบบ rss Egp || เปิดอ่าน : 241
rss_feed

      สำนักงานปลัด  มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับเอกสาร สารการจัดทำแผนพัฒนาสามปี การจัดทำร่างข้อบัญญัติ การจัดทำทะเบียนสมาชิกสภา อบต. และคณะผู้บริหาร การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การให้คำปรึกษาหน้าที่และความรับผิดชอบการปกครองบังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง การบริหารงานบุคคลของ อบต. ทั้งหมด การดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตต่าง ๆ และการปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคม เกี่ยวกับการสังคมเคราะห์ การส่งเสริมการเกษตร การอนุรักษ์แหล่งน้ำ และป่าไม้ การให้คำปรึกษาแนะนำและตรวจสอบเกี่ยวกับงานสวัสดิการสังคมและ ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายใน ออกเป็น 5 งาน คือ

งานบริหารทั่วไป มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

- งานสารบรรณ

- งานอำนวยการและข้อมูลข่าวสาร

- งานบริหารงานบุคคล

- งานเลือกตั้ง

- งานตรวจสอบภายใน

- งานระเบียบข้อบังคับการประชุม

- งานการประชุม

- งานอำนวยการและประสานราชการ

- งานติดตามผลการปฏิบัติ

- งานตามมติสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

- งานเลือกตั้ง

- งานข้อมูลการเลือกตั้ง

- งานชุมชนสัมพันธ์

- งานรักษาความสงบเรียบร้อย

- งานสนับสนุนและบริการ

- งานอำนวยการ

- งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

- งานช่วยเหลือฟื้นฟู

- งานกู้ภัย

งานนโยบายและแผน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ 

- งานนโยบายและแผนพัฒนา

- งานวิชาการ

- งานข้อมูลและการประชาสัมพันธ์

- งานสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์

- งานงบประมาณ

- งานกฎหมายและคดี มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

- งานกฎหมายและนิติกรรม

- งานการดำเนินทางคดีและศาลปกครอง

- งานร้องเรียนร้องทุกข์และอุทธรณ์

- งานระเบียบการคลัง

- งานข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล

- งานสวัสดิการและพัฒนาชุมชน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

- งานสวัสดิการสังคม

- งานพัฒนาชุมชน

- งานจัดระเบียบชุมชน

- งานสังคมสงเคราะห์

- งานพิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี

งานการเกษตร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ 

งานส่งเสริมการเกษตร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

งานอนุรักษ์แหล่งน้ำและป่าไม้ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ


เผยแพร่วันที่ : easyweb | โดย : ระบบ rss Egp || เปิดอ่าน : 195
rss_feed

         กองคลัง  มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและทะเบียนรับ จ่ายเงินงบประเภท งานเกี่ยวกับการเงิน การเบิกจ่ายเงินการ เก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน การตรวจเงิน อบต. รวบรวมสถิติ เงินได้ประเภทต่าง ๆ การเบิกตัดปี การขยายเวลาเบิก จ่ายงบประมาณ การหักภาษี และนำส่ง รายการเงินคงเหลือประจำ การรับและจ่ายขาดเงินสะสมของ อบต. การยืมเงินทดรอง ราชการ การจัดหาผลประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สิน ตรวจสอบงานของจังหวัดและสำนักงานตรวจ เงินแผ่นดิน การเร่งรัดใบสำคัญและใบเงินยืมค้างชำระ การจัดเก็บภาษี การประเมินภาษี การเร่งรัดจัดเก็บรายได้ การพัฒนารายได้ การออกใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง และที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 4 งาน คือ

งานการเงิน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

- งานรับเงิน 

- เบิกจ่ายเงิน 

- งานจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงิน 

- งานเก็บรักษาเงิน

งานบัญชี มีหน้าที่ความรับผิดชอบ 

- งานการบัญชี 

- งานทะเบียนคุมการเบิกจ่าย 

- งานงบการเงินและงบทดลอง 

- งานงบแสดงฐานะทางการเงิน

งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

- งานภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและค่าเช่า 

- งานพัฒนารายได้ 

- งานควบคุมกิจการค้าและค่าปรับ 

- งานทะเบียนเบิกควบคุมและเร่งรัดรายได้

งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

- งานทะเบียนทรัพย์สินและแผนที่ภาษี 

- งานพัสดุ 

-งานทะเบียนเบิกจ่ายวัสดุครุภัณฑ์และยานพาหนะ

 


เผยแพร่วันที่ : easyweb | โดย : ระบบ rss Egp || เปิดอ่าน : 194
rss_feed

           กองช่าง มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการสำรวจออกแบบและจัดทำโครงการใช้จ่ายเงินของ ทต. การอนุมัติเพื่อดำเนินการตาม โครงการที่ตั้งจ่ายจากเงินรายได้ของ ทต. งานบำรุงรักษา ซ่อมแซม และจัดทำทะเบียนสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ทต. การให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำโครงการและการออกแบบก่อสร้างแก่ ทต. และหน่วงงานอื่นที่เกี่ยงข้อง งานควบคุมอาคาร การดูแลควบคุมปรึกษาซ่อมแซมวัสดุครุภัณฑ์และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องและงานที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 4 งาน คือ

งานก่อสร้าง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ 

- งานก่อสร้างและบูรณะถนน 

- งานก่อสร้างและบูรณะสภาพและโครงการพิเศษ 

- งานระบบข้อมูลและแผนที่เส้นทางคมนาคม 

- งานบำรุงรักษาเครื่องจักรและยานพาหนะ

งานออกแบบและควบคุมอาคาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

- งานสถาปัตยกรรมและมัณฑศิลป์ 

- งานวิศวกรรม 

- งานประเมินราคา 

- งานควบคุมการก่อสร้างอาคาร ฝ่ายบริการข้อมูลและหลักเกณฑ์ 

- งานออกแบบ

งานประสานและสาธารณูปโภค มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

- งานประสานและสาธารณูปโภคและกิจการประปา 

- งานขนส่งและวิศวกรรมจราจร 

- งานระบายน้ำ 

- งานจัดตกแต่งสถานที่

งานผังเมือง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

- งานสำรวจและแผนที่ 

- งานวางผังพัฒนาเมือง


เผยแพร่วันที่ : easyweb | โดย : ระบบ rss Egp || เปิดอ่าน : 194
rss_feed

        กองการศึกษา มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับ งานบริหารวิชาการศึกษา งานเทคโนโลยีทางการศึกษา งานจัดการศึกษา งานทดสอบและประเมินตรวจวัดผล งานบริการและบำรุงสถานศึกษา งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก งานกิจการเด็กและเยาวชน งานกีฬาและสันทนาการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการศึกษา การส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามของประชาชน การสนับสนุนบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ และทรัพย์สินต่างๆ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา จัดสถานที่เพื่อการศึกษา ส่งเสริมทำนุบำรุงรักษา ไว้ซึ่งศิลปะประเพณี ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีท้องถิ่น วัฒนธรรมด้านภาษา การดำเนินชีวิตส่งเสริมสนับสนุนการเล่นกีฬา การส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและ ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายใน ออกเป็น 3 งาน คือ

งานบริหารการศึกษา มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

- งานบริหารงานบุคคล

- งานบริหารทั่วไป

- งานบริหารการศึกษา

- งานวางแผนและสถิติ

- งานการเงินและบัญชี

งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

- งานกิจการศาสนา

- งานส่งเสริมประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรม

- งานกิจการเด็กและเยาวชน

- งานกีฬาและนันทนาการ

งานกิจการโรงเรียน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

- งานจัดการศึกษา

- งานพลศึกษา

- งานทดสอบประเมินผลและตรวจวัดผลโรงเรียน

- งานบริการและบำรุงสถานศึกษา

- งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก


เผยแพร่วันที่ : easyweb | โดย : ระบบ rss Egp || เปิดอ่าน : 170
rss_feed

  กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับ การควบคุมโรคการสุขาภิบาลอื่นๆตามแผนการสาธารณสุขและข้อบังคับตำบลการวางแผนการสาธารณสุขาประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่เกี่ยวข้องกับ สาธารณสุข งานเฝ้าระวังโรค งานเผยแพร่ฝึกอบรม การให้สุขศึกษาารจัดทำงบประมาณตามแผนงานสาธารณสุข งานด้านสิ่งแวดล้อม การให้บริหารสาธารณสุข การควบคุมการฆ่าสัตว์ จำหน่ายเนื้อสัตว์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง และที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายใน ออกเป็น 5 งาน คือ

งานอนามัยและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

- งานสุขาภิบาลทั่วไป

- งานสุขาภิบาลโรงงาน

- งานสุขาภิบาลอาหารและสถานประกอบการ

- งานอาชีวอนามัย

- งานควบคุมและจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม

- งานส่งเสริม เผยแพร่กิจกรรมด้านการควบคุม

- มลพิษและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

- งานควบคุมมลพิษ

- งานศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

- งานติดตามตรวจสอบเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

- งานธุรการประจำส่วนสาธารณสุข

- งานจัดทำเอกสารประกอบฎีกาประจำส่วน

- งานอื่นๆที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

งานส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

- งานอนามัยชุมชน งานสาธารณสุขมูลฐาน

- งานสุขศึกษา

- งานควบคุมมาตรฐานอาหารน้ำ งานป้องกัน รักษา และบำบัดยาเสพติด

- งานรักษาและพยาบาล

- งานชันสูตรสาธารณสุข

- งานเภสัชกรรม

- งานทันตกรรม

- งานสัตวแพทย์

- งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

งานรักษาความสะอาด มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

- งานรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ

- งานควบคุมสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย

- งานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย

- งานกำจัดมูลฝอยและน้ำเสีย

- งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

งานคบคุมโรค มีหน้าที่รับผิดชอบ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

- งานเฝ้าระวังโรคระบาด

- งานระบาดวิทยา

- งานป้องกันและระงับโรคติดต่อนำโดยคน แมลง และสัตว์

- งานเกี่ยวกับการป้องกันรักษาโรคเอดส์

- งานจัดทำเสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ด้านการป้องกันและระงับโรคติดต่อ

- งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย


เผยแพร่วันที่ : easyweb | โดย : ระบบ rss Egp || เปิดอ่าน : 165
rss_feed

 

ที่

กระบวนงานบริการ

เวลาที่ปฏิบัติงานเดิม

เวลาที่ปรับลด

1

การจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่

นาที / ราย

นาที / ราย

2

การจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน

10 นาที / ราย

นาที / ราย

3

การจัดเก็บภาษีป้าย

10 นาที / ราย

นาที / ราย

4

การขออนุญาตก่อสร้างอาคารกรณีทั่วไป
ขั้นตอนตรวจสอบเอกสาร/พื้นที่ก่อสร้าง
ขั้นตอนพิจารณาออกใบอนุญาต

45 นาที / ราย

-
-

30 วัน / ราย
15 วัน / ราย
15 วัน / ราย
10 วัน / ราย

5

กรณีขออนุญาตตามแบบของกรมโยธาธิการและผังเมือง

วัน

ชม. / ราย

6

การสนับสนุนน้ำอุปโภคบริโภค

ชม.

ในทันที

7

การช่วยเหลือสาธารณภัย

-

ให้แจ้งตอบรับการ

8

รับแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์

30 วัน / ราย

ดำเนินการให้ผู้ร้องเรียนทราบภายใน 7 วัน

9

การขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (130 ประเภท)
ขออนุญาตใหม่/ต่อใบอนุญาต

30 วัน / ราย

20 วัน / ราย

10

การขออนุญาตจัดตั้งตลาด
ขออนุญาตใหม่/ต่อใบอนุญาต

30 วัน / ราย

20 วัน / ราย

11

การขออนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร (พื้นที่เกิน 200 ตร..)
ขออนุญาตใหม่/ต่อใบอนุญาต

30 วัน / ราย

20 วัน / ราย

12

การขออนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
ขออนุญาตใหม่/ต่อใบอนุญาต 

30 วัน / ราย

20 วัน / ราย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


เผยแพร่วันที่ : easyweb | โดย : ระบบ rss Egp || เปิดอ่าน : 174
rss_feed
ภาษีบำรุงท้องที่
      ภาษีบำรุงท้องที่ คืออะไร?
พระราชบัญญัติ ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 ที่ดิน หมายความว่า พื้นที่ดิน และให้หมายความรวมถึงพื้นที่ที่เป็นภูเขา หรือที่มีน้ำด้วยเจ้าของที่ดิน หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือครอบครองอยู่ในที่ดินไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน
 
เจ้าของที่ดินใดบ้างที่ไม่ต้องเสียภาษี
1. ที่ดินที่เป็นที่ตั้งพระราชวังอันเป็นส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
2. ที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือที่ดินของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐ หรือสาธารณะโดยมิได้มาซึ่งผลประโยชน์
3. ที่ดินของราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในกิจการของราชการส่วนท้องถิ่น หรือสาธารณะ โดยมิได้หาผลประโยชน์
4. ที่ดินที่ใช้เฉพาะการพยาบาลสาธารณะ การศึกษา หรือการกุศลสาธารณะ
5. ที่ดินที่ใช้เฉพาะศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของวัด ไม่ว่าจะใช้ประกอบศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือไม่ หรือที่ศาลเจ้าโดย   มิได้หาผลประโยชน์
6. ที่ดินที่ใช้เป็นสุสาน หรือ ฌาปนสถานสาธารณะโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน
7. ที่ดินที่ใช้ในการรถไฟ การประปา การไฟฟ้า หรือการท่าเรือของรัฐ หรือใช้เป็นสนามบินของรัฐ
8. ที่ดินที่ใช่ต่อเนื่องกับโรงเรือน ที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินอยู่แล้ว
9.ที่ดินของเอกชนเฉพาะส่วนที่เจ้าของที่ดินยินยอมให้ทางราชการจัดใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ โดยเจ้าของที่ดินมิได้ใช้ หรือหาผลประโยชน์ในที่ดินเฉพาะส่วนนั้น
10. ที่ดินที่เป็นที่ตั้งที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติหรือองค์การระหว่างประเทศอื่นในเมื่อประเทศไทยมีข้อผูกพันให้ยกเว้นตามอนุสัญญาหรือความตกลง
 
  ภาษีบำรุงท้องที่ลดหย่อนภาษีได้
- ที่ดินนอกเขตเทศบาลหรือเขตสุขาภิบาลให้ลดหย่อนได้ไม่เกิน 5 ไร่ แต่จะน้อยกว่า 3 ไร่ ไม่ได้
- ที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างและสิ่งปลูกสร้างนั้นเป็นสถานการค้าหรือให้เช่าไม่ได้รับการลดหย่อนสำหรับส่วนของที่ดิน ที่มีสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นสถานการค้าหรือให้เช่านั้น
 
         ขั้นตอนการชำระภาษีทำอย่างไร?
1. ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) ภายในเดือนมกราคม ทุกๆ 4 ปี
2. หากไม่ยื่นภายในกำหนด เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของภาษีที่ต้องชำระ
3.ยื่นชำระภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปีหากไม่ยื่นชำระภายในกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือนของภาษีที่ต้องชำระ
 
         ภาษีป้าย
ภาษีป้าย เป็นภาษีที่จัดเก็บป้าย อันหมายถึงแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือ โฆษณา      การค้า หรือกิจการอื่น เพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพ หรื่อเครื่องหมายที่เขียนแกะสลักจารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่นๆ
 
ขั้นตอนการชำระภาษีป้าย
การยื่นแบบแสดงราการเพื่อเสียภาษีผู้เป็นเจ้าของป้ายจะต้องยื่นแบบ ภ.ป. 1 ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปีกรณีที่ติดตั้งป้ายใหม่ จะต้องยื่น ภ.ป. 1 ภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ติดตั้งใหม่ การชำระเงินค่าภาษี : ผู้เป็นเจ้าของป้ายต้องชำระค่าภาษีภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน หรือจะชำระภาษีในวันที่ยื่นแบบเลยก็ได้
 
อัตราค่าภาษีป้าย
ป้ายประเภทที่ 1 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยล้วนให้คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
ป้ายประเภทที่ 2 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยปนอักษรต่างประเทศ หรือปนกับภาพหรือเครื่องหมายอื่น ให้คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
ป้ายประเภทที่ 3 หมายถึง ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดๆ หรือไม่ หรือป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่า    อักษรต่างประเทศ ให้คิดอัตรา 40 บาท ต่อ ตารางเซนติเมตรเมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้วถ้ามีอัตราภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท  ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท ป้ายต้องชำระค่าภาษีภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินหรือจะชะระภาษีในวันที่ยื่นแบบเลยก็ได้
 
การไม่ยื่นแบและชำระภาษีภายในกำหนด
-  ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ยื่นแบบภายในกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของค่าภาษี
- ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ชำระค่าภาษีภายในกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่ม อีกร้อยละ 2 ของค่าภาษี
- ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องแสดงหลักฐานการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการ
 
ค่าธรรมเนียมขยะมูลฝอย
เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของอาคารสถานที่ และประโยชน์ในการรักษาความสะอาดในเขตเทศบาลโปรดให้ความร่วมมือชำระค่าธรรมเนียมเก็บและขนมูลฝอยเป็นประจำทุกเดือนและรับใบเสร็จรับเงินทุกครั้งจากเจ้าหน้าที่
 
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
โรงเรือนและที่ดิน หมายถึงอะไร?  พระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรียนและที่ดิน พ.ศ.2475
  โรงเรือน หมายถึง บ้าน ตึกแถว อาคาร ร้านค้า สำนักงาน บริษัท ธนาคาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล โรงเรือน แฟลต หรืออพาร์ทเม้นท์คอนโดมิเนียม หอพัก สิ่งปลูกสร้าง เช่นท่าเรือ สะพาน อ่างเก็บน้ำ ถังเก็บน้ำมัน คานเรือ
 
ภาษีโรงเรือนและที่ดินคืออะไร?
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ
 
        ทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้น
1. พระราชังอันเป็นส่วนของแผ่นดิน
2. ทรัพย์สินของรัฐบาล ซึ่งใช้ในกิจการของรัฐบาล หรือสาธารณะ และทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ใช้ในกิจการของการรถไฟโดยตรง
3. ทรัพย์สินของโรงพยาบาลสาธารณะ และโรงเรียนสาธารณะ ซึ่งกระทำกิจการอันมิใช้เพื่อผลกำไรส่วนบุคคล และใช้ในการักษาพยาบาล และในการศึกษา
4. ทรัพย์สินซึ่งเป็นศาสนสมบัติอันใช้เฉพาะในศาสนกิจอย่างเดียว หรือเป็นที่อยู่ของสงฆ์
5. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ ซึ่งปิดไว้ตลอดปี
6.โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะแห่งชาติที่ผู้เช่าซื้ออาศัยอยู่เองโดยมิให้เช้าเป็นที่เก็บสินค้า หรือประกอบการอุตสาหกรรม หรือประกอบกิจการอันเพื่อหารายได้
7. โรงเรียนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ ซึ่งเจ้าของอยู่เอง หรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษา และซึ่งมิได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้า หรือประกอบการอุตสาหกรรม
 
  ยื่นแบบแสดงรายการ เมื่อไหร่?
กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ว่าให้ยื่นแบบภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี
 
 * ข้อควรรู้ *
1. หากเจ้าของทรัพย์สิน อันได้แก่โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ และที่ดิน เป็นเจ้าของเดียวกัน เจ้าของทรัพย์สินนั้น ก็เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี
2. แต่ถ้าที่ดิน และโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ เป็นคนละเจ้าของ กฎหมายกำหนดให้เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ ต้องเป็นผู้เสียภาษี
 
ขั้นตอนการชำระภาษี
1. ยื่นแบบ (ภ.ร.ด.2) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
2. ต้องชำระภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ถ้าหากชำระเกินกำหนด ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2.5 ต่อเดือนของภาษีที่ค้างชำระ สูงสุดร้อยละ 10

เผยแพร่วันที่ : easyweb | โดย : ระบบ rss Egp || เปิดอ่าน : 164
rss_feed

สายตรงนายกเทศมนตรีตำบลนาป่าแซง

ไม่ได้รับความเป็นธรรม

ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข

ไม่ได้รับความสะดวก ในการขอรับบริการ

ให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ แจ้งเรื่องตรง
นายกเทศมนตรีตำบลนาป่าแซง



โทรศัพท์ติดต่อตรง ตลอด 24 ชั่วโมง
 094-3565651

 


เผยแพร่วันที่ : easyweb | โดย : ระบบ rss Egp || เปิดอ่าน : 178
rss_feed รอปรับปรุง
เผยแพร่วันที่ : easyweb | โดย : ระบบ rss Egp || เปิดอ่าน : 2
1 - 10 (ทั้งหมด 10 รายการ) 1

× เทศบาลตำบลนาป่าแซง